ในโพสที่แล้วเราก็ได้ทราบถึงการจัดประเภท cryptocurrencies เป็น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนกันแล้ว ในบทความนี้เราจะมายกตัวอย่างกรณีที่จัดประเภท cryptocurrencies เป็นสินค้าคงเหลือ และ วิธีการวัดมูลค่าในกรณีที่จัดประเภทแบบนี้กันค่ะ
สำหรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของกิจการบางประเภท อาจต้องพิจารณา cryptocurrency ตาม TAS 2 สินค้าคงเหลือ เพราะ TAS 2 ได้ากล่าวถึง สินค้าคงเหลือที่เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนด้วย
TAS 2 กล่าวไว้ว่า สินค้าคงเหลือคือสินทรัพย์ที่:
ตัวอย่างเช่น กิจการอาจถือ cryptocurrencies ไว้เพื่อขายในการดำเนินธุรกิจตามปกติ ซึ่งกิจการอาจจัดประเภท cryptocurrencies เป็นสินค้าคงเหลือ ซึ่งจะต้องวัดมูลค่าด้วย จำนวนที่ต่ำกว่าของ ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ
อย่างไรก็ตาม หากกิจการทำหน้าที่เป็นนายหน้า ซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล TAS 2 ระบุว่าสินค้าคงเหลือนี้ ควรจะวัดมูลค่าด้วย มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย เพราะว่ากิจการมักจะซื้อ cryptocurrencies มาถือไว้ในระยะสั้นและขายออกเพื่อเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงในราคา หรือ อัตราค่าคอมมิชชั่นของ broker-trader ดังนั้น การวัดมูลค่าด้วยวิธีนี้จะสามารถใช้ได้แค่สำหรับสถานการณ์ที่กิจการมีรูปแบบธุรกิจในการขาย cryptocurrencies ในอนาคตอันใกล้ และ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บกำไรจากความผันผวนของราคา เท่านั้น
เนื่องจาก Cryptocurrencies ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ และ ยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องของการรับรู้รายการและวัดมูลค่า การเปิดเผยข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินใช้ในการประกอบการตัดสินใจ
TAS 1 การนำเสนองบการเงิน กำหนดให้กิจการเปิดเผยดุลยพินิจของผู้บริหาร ในการถือ รับรู้รายการ และ วัดมูลค่า สินทรัพย์ ที่เป็น cryptocurrencies ที่กิจการเลือกใช้ นอกจากนี้ TAS 10 เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ได้กำหนดให้กิจการเปิดเผย เหตุการณ์ที่ไม่ได้ทำการปรับปรุง ที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ cryptocurrencies ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่มีนัยสำคัญ ที่จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ของผู้ใช้งบการเงิน
โดยสรุปแล้ว การบัญชีสำหรับ cryptocurrency นั้น ไม่สามารถมองเป็นตัวเงิน หรือ สกุลเงินจริง อย่างที่เราอาจคิดกันไว้ในตอนแรก และ เนื่องด้วย ไม่มีมาตรฐาน TFRS ในปัจจุบันที่รองรับ cryptocurrencies โดยเฉพาะ จึงต้องมีการนำตีความ และ ประยุกต์กับมาตรฐานที่มีอยู่ นั่นเองค่ะ