fbpx

เก็บชั่วโมง CPD แบบเป็นทางการ ต้องอบรมแบบไหน ยื่นชั่วโมงยังไง

กุมภาพันธ์ 24, 2021

ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องแบบเป็นทางการกันค่ะ

การเก็บชั่วโมง CPD แบบเป็นทางการ คือ การเข้าร่วมกิจกรรม ดังต่อไปนี้ค่ะ

กิจกรรมการนับชั่วโมง
1. การอบรมหรือสัมมนา รวมถึงการอบรมหรือสัมมนาในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-learning ด้วยค่ะ a. การอบรมสัมมนาในรูปแบบปกติ<15 นาที = ไม่นับชั่วโมง15 – 44 นาที = นับเป็น 30 นาที45 – 60 นาที = นับเป็น 1 ชั่วโมง

b. การอบรมสัมมนาในรูปแบบ e-learning<30 นาที = ไม่นับชั่วโมง30 – 59 นาที = นับเป็น 30 นาที มีแบบทดสอบ 3 ข้อ60 นาที = นับเป็น 1 ชั่วโมง มีแบบทดสอบ 5 ข้อ
2. การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้ดำเนินการสัมมนาa. ต้องมีพื้นความรู้โดยตรงในเรื่องที่จะอบรมหรือสัมมนา และมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นอย่างเพียงพอ และต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาชีพบัญชีก่อนการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว 
ดูประวัติวิทยากร >> click
ตรวจสอบหลักสูตรอบรม >> click

b. การกล่าวเปิดการอบรมหรือการประชุมสัมมนา ให้นับชั่วโมงการเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ได้เฉพาะที่เป็นการปาฐกถาที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีตามที่สภาวิชาชีพบัญชีให้ความเห็นชอบ

c. สามารถนับชั่วโมงการเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้
1) ช่วงเวลาของการบรรยาย = นับชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ใช้ไปในการบรรยายแค่ครั้งแรก ตามการนับชั่วโมงในกิจกรรมข้อ 1
2) ช่วงเวลาการเตรียมตัวเพื่อจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนหรือการบรรยาย = นับชั่วโมงได้เฉพาะการเตรียมตัวครั้งแรก โดยให้นับได้เป็น 2 เท่าของเวลาที่นับในการบรรยาย โดยไม่รวมผู้ดำเนินการสัมมนา
3. การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่าวิชาละ 3 ชั่วโมง และ ไม่เกิน 6 ชั่วโมง ต่อปี
4. การสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าคุณวุฒิใหม่นั้นจะสูงกว่าคุณวุฒิเดิมหรือไม่ก็ตามa. หากสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิสูงกว่าวุฒิเดิม หรือวุฒิเดิมในหลักสูตรหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ให้นับจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องได้ 12 ชั่วโมงต่อปีที่สำเร็จการศึกษา

b. หากสำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิต่ำกว่าวุฒิเดิมในหลักสูตรหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ให้นับจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีได้ 6 ชั่วโมงต่อปีที่สำเร็จการศึกษา
5. การผ่านการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี จากสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของเอกชน ซึ่งมีการสอนไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าวิชาละ 3 ชั่วโมง ต่อปีที่ผ่านการศึกษา
6. จัดทำผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีโดยได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทางที่ประชุมวิชาการ วารสารวิชาการ หรือในรูปแบบอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาชีพบัญชี เช่น การเขียนบทความ งานวิจัย หนังสือ หรือตำราทางวิชาการ เป็นต้นa. งานวิจัยหรือการเขียนบทความที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัย ให้นับจำนวนชั่วโมง CPD ได้ 12 ชั่วโมง ต่อ 1 ผลงาน หรือ 1 บทความตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี

b. การเขียนบทความทั่วไป ให้นับจำนวนชั่วโมง CPD ได้ 3 ชั่วโมง ต่อ 1 บทความ

c. การเขียนหนังสือ หรือตำรา ทางวิชาการที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี ให้นับจำนวนชั่วโมง CPD ได้ครั้งเดียวได้ปีที่หนังสือหรือตำรานั้นจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก โดยให้นับได้ 12 ชั่วโมง

โดยการนับปีที่มีการเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้นับตามปีปฏิทิน

จะเห็นได้ว่าการเก็บชั่วโมง CPD แบบเป็นทางการนี้จริง ๆ แล้วสามารถเก็บชั่วโมงด้วยการอบรมผ่านระบบ e-learning ซึ่งสะดวกสบายกว่าการอบรมแบบทั่วไป และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 

แต่การอบรมแบบ e-learning จะต้องมีการยืนยันตัวตน และ การทำแบบทดสอบของบทเรียนนั้น ๆ ให้ผ่านเกิน 60% เพื่อที่จะสามารถเก็บชั่วโมงการอบรม และได้รับหนังสือรับรองการอบรมค่ะ

ผู้อ่านท่านใด สนใจอบรมเก็บชั่วโมง CPD แบบ e-learning ลองดูคอร์สอบรมของ LearnCPD ได้ ที่นี่ เลยค่า

สำหรับวิธีการยื่นชั่วโมงการอบรมแบบเป็นทางการ ผู้เรียนจะต้องทำดังต่อไปนี้ค่ะ

5 ขั้นตอนง่ายๆ ยื่น CPD ออนไลน์ 

  1. เข้าไปที่ลิ้งค์ https://eservice.tfac.or.th/cpd_online/login.php
  2. ใส่เลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านของท่าน เพื่อเข้าสู่ระบบ 
  1. จากนั้นใส่รหัสหลักสูตรจากหนังสือรับรองที่ท่านได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนา และกดปุ่ม “ค้นหา”
  1. ระบบจะปรากฏรายการหลักสูตรที่ท่านได้ค้นหา จากนั้นกดปุ่ม “เพิ่ม”
  2. หลักสูตรที่ท่านต้องการยื่นจะปรากฏขึ้น ท่านสามารถ Print Screen เก็บไว้เป็นหลักฐานได้ค่ะ

ผู้ทำบัญชี 

  • ต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน 
  • เว้นแต่ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับปีแรกและมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่าหกเดือนให้เริ่มพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพในปีถัดไป 
  • โดยจำนวนชั่วโมง CPD ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชี ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งและเนื้อหาด้านอื่น 

>> ดูบทความเรื่องจำนวนชั่วโมง click

  • สามารถแจ้งจำนวนชั่วโมง CPD ได้จนถึงวันที่ 30 มกราคม ของปีถัดไป

ผู้สอบบัญชี 

  • ต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD 40 ชั่วโมงต่อปี โดยแบ่งเป็น

1.1 ชั่วโมง CPD ที่เป็นทางการ 20 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีหรือการสอบบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง และเนื้อหาด้านอื่นตามประกาศของสภาวิชาชีพบัญชี และ

1.2 ชั่วโมง CPD ที่ไม่เป็นทางการ 20 ชั่วโมงต่อปี ทั้งนี้ ให้นับชั่วโมงส่วนที่เกินจาก (1.1) เป็นชั่วโมงตามข้อนี้ได้ด้วย

  • เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตเป็นปีแรก ให้มีจำนวนชั่วโมงตามสัดส่วนของเดือนที่ได้รับใบอนุญาตในปีนั้น โดยไม่นับเศษของเดือน โดยจำนวนชั่วโมง CPD ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชี หรือการสอบบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง และเนื้อหาด้านอื่น

>> ดูบทความเรื่องจำนวนชั่วโมง click

  • สามารถยื่นจำนวนชั่วโมง CPD ได้จนถึงภายในวันทำการสุดท้ายของปี
  • บทความเรื่องจำนวนชั่วโมงที่ต้องอบรมต่อปี >> click
  • บทความเรื่องการเก็บชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการ >> click
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ ในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี ในเรื่องของเนื้อหาและกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถนับชั่วโมง CPD ของผู้ทำบัญชี >> click
  • หน่วยงานหรือสถาบันที่จัดอบรมหรือประชุมสัมมนา และหลักสูตร วิทยากรของผู้ทำบัญชีต้องผ่านความเห็นชอบของสภาวิชาชีพบัญชีตามประกาศหลักเกณฑ์สำหรับผู้จัดการอบรมหรือประชุมสัมมนา หลักสูตร และวิทยากร เพื่อรองรับการนับชั่วโมง CPD ของผู้ทำบัญชี >> click
  • หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนาของผู้สอบบัญชี  >> click 

Source: https://www.tfac.or.th/Article/Detail/67987

อบรมเก็บชั่วโมงผู้ทําบัญชี ผู้สอบบัญชี (CPD) ออนไลน์ learncpd.com