ในบทความนี้เราจะมานำเสนอมาตรการด้านการเงินของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ SME ภายใต้สถานะการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 กันค่ะ
ในส่วนของมาตรการทางการเงิน รัฐบาลก็ได้มีมาตรการช่วยเหลือ หลายอย่างด้วยกัน ประกอบไปด้วย
สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 150,000 ล้านบาท ให้สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่ SME ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 2 ปี วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) พักเงินต้น ลดดอกเบี้ย ขยายระยะเวลา ชำระหนี้แก่ลูกหนี้ ผ่อนปรนเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และให้สินเชื่อเสริมสภาพคล่อง
สำหรับสินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ยร้อยละ 3 สำหรับ 2 ปีแรก ระยะเวลาการกู้ยืม ไม่เกิน 5 ปี ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ช่วยเหลือลูกหนี้โดยผ่อนปรนหลักเกณ์การปรับโครงสร้างหนี้ การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อเพิมสภาพคล่องให้ธุรกิจ
สำนักงานประกันสังคม ออกสินเชื่อวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี ให้สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบี้ยนกับประกกันสังคม
ให้ธปท.ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่ธนาคารพาณิชย์และ SFIs เพื่อปล่อยสินเชื่อใหม่ให้แก่ SME ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี สำหรับวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท และ ให้ธนาคารพาณิชย์และ SFIs พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือน สำหรับ SME ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท
นักบัญชีอย่างเรา รู้อย่างนี้แล้วก็สามารถเสนอแนะผู้บริหารของบริษัทในส่วนของการผ่อนปรนทางการเงินต่างๆที่รัฐบาลมีให้ หรือจะนำมาประยุกต์ใช้กับสำนักงานบัญชีของเราเองก็ได้เหมือนกันค่ะ
สุดท้ายแล้วก็ขอให้พวกเราทุกคนผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ด้วยกันนะคะ