ต่อเนื่องจากบทความที่แล้ว เรื่องภาษีของการขายของออนไลน์ ถ้าใครยังไม่ได้อ่านเรื่องภาษีขายของออนไลน์สำหรับบุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนร้านค้าเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท จำกัด เข้าไปอ่านได้ ที่นี่ เลย
ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกในเรื่องของภาษีขายของออนไลน์ สำหรับร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัทจำกัด กันค่ะ
ทบทวนกันอีกที ภาษีหลัก ๆ ของการขายของออนไลน์จะมีอยู่ 2 ประเภท นั่นก็คือ
1. ภาษีเงินได้ ซึ่งก็คือภาษีที่เก็บจากผู้มีรายได้ ภาษีประเภทนี้จะแบ่งออกเป็น
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ซึ่งอัตราจะอยู่ที่ 7% ของราคาสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้สำหรับบริษัท และ ห้างหุ้นส่วน จะต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ ซึ่งก็คือ รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย โดยค่าใช้จ่ายที่นำมาหักจากรายได้ได้จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดด้วยนะคะ ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทุกรายการจะนำมาหักกับรายได้ได้นั่นเองค่ะ
อัตราภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิมีดังนี้ค่ะ
1. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
กำไรสุทธิ | อัตราภาษี |
ไม่เกิน 300,000 | ยกเว้น |
300,001 – 3,000,000 | 15% |
3,000,001 ขึ้นไป | 20% |
2. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
กำไรสุทธิ | อัตราภาษี |
ไม่เกิน 300,000 | ยกเว้น |
300,001 ขึ้นไป | 10% |
3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีทั่วไป ที่ไม่ใช่กิจการ SMEs
กำไรสุทธิ | อัตราภาษี |
ทั้งหมด | 20% |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อร้านค้าของเรา ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ได้จด หากรายได้ต่อปีของเราถึง 1.8 ล้านบาทเมื่อไหร่ เราก็เตรียมตัวจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เตรียมคำนวณ จัดเก็บภาษี รวมถึงนำส่งรายงานภาษีซื้อ ภาษ๊ขาย ได้เลยค่า
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ
ภาษีขาย = ฐานภาษี x อัตราภาษี (7%)
ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีที่ต้องขำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ซึ่งในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะมีรายละเอียดลงลึกในเรื่องของในกำกับภาษี และ ภาษีซื้อต้องห้ามอีกด้วยนะคะ ถ้าใครสนใจอยากอ่านต่อเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ รอติดตามบทความของ LearnCPD ได้เลยค่า
อบรมเก็บชั่วโมงผู้ทําบัญชี ผู้สอบบัญชี (CPD) ออนไลน์ learncpd.com